วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 17

การบันทึกครั้งที่ 17
วันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน  09.30-12.00 น.

เนื้อหา

  วันนี้เป็นวันสุดคาบสุดท้ายของการเรียนการสอนในรายวิชานี้แล้ว

การบันทึกครั้งที่ 16

การบันทึกครั้งที่ 16
วันจันทร์ ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน  08.30-11.30น.

ไม่มีการเรียนการสอน

เนื่องจากอาจารย์ให้ไปทำโครงการ

บันทึกการเรียนครั้งที่ 15

การบันทึกครั้งที่ 15
วันจันทร์ ที่ 14 พฤศจิกายน 2559
เวลาเรียน  08.30-11.30น.


ไม่ได้มาเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2559
ไม่มีเรียน

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559

ความรู้ที่ได้รับ
โครงการ นิทานสานรัก
หลักการและเหตุผล
   การเล่านิทานเป็นกิจกรรมที่ตอบสนองต่อธรรมชาติของเด็กทำให้เด็กมีความสนุกสนาน เพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์สร้างพัฒนาการในด้านภาษาของเด็กเด็กมักจะรบเร้าเรียกร้องให้ผู้ใหญ่เล่านิทานให้ฟังทุกวันแม้ว่านิทานเรื่องนั้นเด็กจะเคยฟังมาแล้วกี่ครั้งก็ตาม การเล่านิทานให้เด็กฟังไม่ใช่เล่าเพื่อให้เด็กเกิดความสนุกและ ตลกขบขัน แต่ยังช่วยสร้างสรรค์จินตนาการ ความคิด ความเข้าใจ ความฝันและการรับรู้ให้กับเด็ก ตัวละครแต่ละตัว ในนิทานจะสร้างจินตนาการในสมองเด็ก การเล่านิทานจึงเป็นกิจกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับเด็กในการสร้างเสริมเด็กได้ในทุกเรื่องรวมถึงการสร้างนิสัยรักการอ่าน อีกทั้งยังช่วยส่ง เสริมพัฒนาการตามวัยทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาให้เกิดกับเด็กได้เป็นอย่างดี

   ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการเด็กจำเป็นต้องให้ผู้ปกครองเป็นบุคคลสำคัญที่จะช่วยกระตุ้น ให้เด็กมีพัฒนาการ ตามวัยได้อย่างสมบูรณ์ จึงจัดโครงการ สานรักจากนิทานขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ปกครองในเรื่องของการเล่านิทาน เทคนิคการเล่านิทาน ประเภทของหนังสือนิทาน และวิธีการทำสื่อเพื่อเล่านิทาน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ปกครองในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กด้วยวิธีการที่หลากหลาย ดังนั้น การจัดการเรียนรู้ในรายวิชา EAED3210 Parent Education for Early Childhood การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จึงได้กำหนดให้นักศึกษาได้มีโอกาสจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตามความสนใจ ภายใต้ชื่อ โครงการสานรักจากนิทานเพื่อให้ความรู้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในเรื่องการเล่านิทาน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้ปกครองรู้และเข้าใจเทคนิคการเล่านิทาน
2. เพื่อให้ผู้ปกครองรู้และเข้าใจการเลือกหนังสือสำหรับลูกได้อย่างเหมาะสม
3. เพื่อให้ผู้ปกครองเข้าใจวิธีการประดิษฐ์หุ่นมือ
เนื้อหา / หลักสูตร
1. หนังสือเล่มสำหรับเด็ก
2. หนังสือเด็กในปัจจุบัน
3. หนังสือเด็กในประเทศไทย
4. ลักษณะหนังสือที่เด็กชอบ
5. จุดมุ่งหมายของหนังสือสำหรับเด็ก
6. เทคนิคการเล่านิทานการเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
7. การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน
8. เทคนิคการเล่านิทาน เพื่อให้เด็กได้เพลิดเพลินและมีความสุข

เป้าหมาย
เชิงปริมาณ : ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ จำนวน 10 คน
เชิงคุณภาพ : ผู้ปกครองมีความรู้ สามารถนำเทคนิคการเล่านิทานไปใช้ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้ถูกต้อง
วันเวลาและสถานที่จัดสัมมนา

รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค
1. การบรรยายเชิงปฏิบัติการ
2. การสาธิต


กิจกรรม/ขั้นตอน
เดือน
ผู้รับผิดชอบ
การเตรียมงาน (P)
ตุลาคม
พฤศจิกายน

ธันวาคม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12
วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 255
ชื่อโครงการ
หลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์
แผนการดำเนินงาน
4.1 การเตรียมงาน
4.2 การนิเทศติดตามผล
4.3 การสรุปและประเมินผล
งบประมาณ
5.1 ค่าตอบแทน
5.2 ค่าใช้สอย
5.3 ค่าวัสดุ
เนื้อหา
เป้าหมาย
7.1 เชิงปริมาณ
7.2 เชิงคุณภาพ
วันเวลาและสถานที่จัดสัมนา
รูปแบบการจัดโครงการ/เทคนิค
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
การติดตามและดำเนินโครงการ
ผู้รับผิดชอบโครงการการเตรียมงาน

การประยุกต์ใช้
       สามารถนำไปใช้จัดโครงการในเรื่องต่างๆ ได้มากมาย และสามารถนำไปใช้จริงได้ในอนาคต และประยุกต์ใช้กับกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเป็ฯทางการและถูกต้องตามหลักการทำโครงการ
ประเมิน
ตนเอง : ถามคำถามเมื่อไม่เข้าใจ
เพื่อน : ตั้งใจฟังข้อมูลจากอาจารย์

อาจารย์ : อธิบายให้ฟังอย่างเข้าใจง่าย พร้อมตัวอย่างจริง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ

การคำนวนแบบสอบถาม

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
วันจันทร์ ที่ 24 ตุลาคม 2559

"หยุดชดเชยวันปิยะมหาราช"

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9

บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม 2559


สัมภาษณ์ผู้ปกครอง

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8

บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
แบบสอบถามผู้ปกครอง
แบบสอบถาม
เรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
คำชี้แจง
1. แบบสอบถามเรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ฉบับนี้ ใช้สำหรับสอบถาม พ่อ แม่ และผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
2. คำตอบของท่านจะเป็นข้อมูลในการจัดทำโครงการให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จึงใคร่ขอความกรุณาจากท่านโปรดตอบคำถามทุกข้อให้ตรงกับความเป็นจริงของท่าน ผู้วิจัยขอขอบพระคุณทุกท่านที่กรุณาให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามครั้งนี้
ลักษณะทั่วไปของแบบสอบถาม
แบบสอบถามนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบตรวจรายการ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ อาชีพของผู้ปกครอง ฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ปกครอง
ตอนที่ 2 เป็นข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยจำนวน 15 ข้อ แบบสอบถามนี้เป็นแบบมาตราประมาณค่า มีเกณฑ์การให้คะแนนดังนี้
ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด ให้ 4 คะแนน
ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมาก ให้ 3 คะแนน
ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยน้อย ให้ 2 คะแนน
ข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย น้อยที่สุด ให้ 1 คะแนน
ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
แบบสอบถาม
เรื่อง ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
ตอนที่ 1 ข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบแบบสอบถาม
คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่อง หน้าข้อความที่ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
1. เพศ ชาย หญิง
2. อายุ
20-29 ปี
30-39 ปี
40-49 ปี
50-59 ปี
มากกว่า 60 ปี
3. สถานภาพ
บิดา
มารดา
ลุง ป้า น้า อา
ปู่ ย่า ตา ยาย
อื่นๆ โปรดระบุ.......
4. อาชีพของผู้ตอบแบบสอบถาม (เลือกตอบเพียง 1 ข้อ)
ข้าราชการ
พนักงานบริษัท
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ค้าขาย (เช่น ประกอบธุรกิจส่วนตัว รับจ้าง เกษตรกรรม)
อื่นๆ โปรดระบุ …………………………………
5. รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน
ต่ำกว่า 15,000
ตั้งแต่ 15,00130,000
ตั้งแต่ 30,00145,000
 มากกว่า 45,001 บาทขึ้นไป
ตอนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
คำชี้แจง แบบสอบถามนี้ประกอบด้วยข้อคำถามที่เกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยของท่าน ขอให้ท่าน อ่านข้อความให้จบแล้วพิจารณาว่าตรงกับความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด โปรดทำเครื่องหมาย / ลงในช่อใดช่องหนึ่งใน 4 ช่อง ที่ตรงกับความคิดเห็นของท่านมากที่สุดเพียงข้อเดียว แบบสอบถามนี้แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ

มากที่สุด หมายถึงข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมากที่สุด
มาก หมายถึงข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมาก
น้อย หมายถึงข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยน้อย
น้อยที่สุด หมายถึงข้อความในข้อนั้นเป็นความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัยน้อยที่สุด
ความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย
ระดับความคิดเห็น
มากที่สุด
มาก
น้อย
น้อยที่สุด

พัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก
การเลือกของเล่นสำหรับเด็ก
การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
สุขภาพอนามัยแม่และเด็ก
สื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
คำชี้แจง เป็นแบบสอบถามปลายเปิดที่ให้ท่านแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ดังนี้
ท่านต้องการเรียนรู้เรื่องอะไรมากที่สุดหากมีนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมาให้ความรู้ผู้ปกครอง
____________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________________

ขอขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม

การนำไปประยุกต์ใช้
   สามารถนำแบบฟอร์มแบบประเมินไปใช้ประเมินในหัวข้อต่าง ๆ ที่คุณครูต้องการทราบความสามารถของเด็กได้เป็นอย่างดี
ประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจเรียน
เพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียนดี

อาจารย์ : มีตัวอย่างแบบประเมินให้ดู ทำให้เข้าใจง่าย

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม 2559
ความรู้ที่ได้รับ
การนำเสนอวิจัย
   การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทย ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
การศึกษาระดับ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่ทำวิจัย ปีการศึกษา 2554
ผู้วิจัย คุณแสงวิไล จารุวาที
บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ภาษาเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ใช้ในการติดต่อกัน เพื่อก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด และทัศนคติต่างๆ ภาษาเป็นสิ่งจาเป็นสาหรับมนุษย์ในการสื่อสารกับผู้อื่น
ประเด็นที่ 2 ภาษาของมนุษย์ต้องเกิดจากการเรียนรู้ จากการศึกษาพัฒนาการทางภาษาของมนุษย์
ประเด็นที่ 3 ส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน
ประเด็นที่ 4 พ่อแม่มีบทบาทสำคัญในการอบรมเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีคุณภาพสมบูรณ์
ประเด็นที่ 5 การให้ความรู้แก่ผู้ปกครองจะเป็นกระบวนการที่ช่วยให้ผู้ปกครองมีความรู้ เจตคติ และทักษะในการพัฒนาตน
ประเด็นที่ 6 พ่อแม่ผู้ปกครองชาวไทยส่วนใหญ่ผ่านการเรียนการสอนมาในวิธีที่แตกต่างกัน จึงยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และไม่สามารถส่งเสริมให้เด็ก ฝึกการออกเสียง อักษรตามที่โรงเรียนสอนได้ ทำให้เด็กเกิดความสับสน
ประเด็นที่ 7 ผู้วิจัยต้องการพัฒนาโปรแกรมการการสอนภาษาแบบโฟนิกส์แก่ผู้ปกครองชาวไทย เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความ เข้าใจ และความสามารถที่จะส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กขณะอยู่ที่บ้าน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร (Letter Sounds) ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ(Blending Skills) และทักษะการแยกเสียงในคำ(Segmenting Skills)
2.เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทย โรงเรียนนานาชาติเซ นต์แอนดรูส์ สามัคคี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ และแผนการดำเนินการใช้โปรแกรมที่ได้ จากการวิจัยนี้ โรงเรียนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องไปกับการ เรียนการสอนของทางโรงเรียน
2.เพื่อส่งเสริมทักษะทางการอ่านภาษาอังกฤษ ของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมในโรงเรียนที่มีลักษณะและแนวการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน โดยดัดแปลงให้เหมาะสมกับสภาพและความพร้อม ของโรงเรียนนั้นๆ
3.ช่วยให้ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการมีบทบาททางการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
1.กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองชาวไทยของนักเรียนปฐมวัยอายุ 5-6 ปีที่ กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้น Year 1 (เทียบเท่าชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) ปีการศึกษา 2553 ของโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี จังหวัดนนทบุรี ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ เจาะจง ได้จำนวน 11 คน คือ
1.1 มีลูกศึกษาในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี มาแล้วไม่น้อยกว่า1ปี
1.2 มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่
1.3 สามารถสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2.เนื้อหาของโปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์

3.ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 9 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 2 การประชุมให้ความรู้ผู้ปกครองไทยที่เข้าร่วมการวิจัย เรื่องการ สอนภาษาแบบโฟนิกส์
ขั้นที่ 3 การปฏิบัติการใช้กิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะของเด็กปฐมวัย
ขั้นที่ 4 การทดสอบความสามารถทางโฟนิกส์ ด้วยการฟังเสียงอักษร การผสมเสียง การแยกแยะเสียง และการถอดรหัสเสียงอักษรในคำ
ขั้นที่ 5 และประเมิน ผลการปฏิบัติตาม โปรแกรมการส่งเสริมทักษะทาง โฟนิกส์โดย ผู้ปกครองไทยโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง)

4.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
4.1 โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยโดยการประชุมปฏิบัติการเรื่องการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาแบบโฟนิกส์ด้วยกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาทักษะ
4.2 แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย
4.3 แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย

การส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยนิยามศัพท์เฉพาะ
1.โปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครอง หมายถึง การให้ความรู้ในเรื่องเสียงอักษร ภาษาอังกฤษและแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาทักษะการออกเสียงอักษร การผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
2.ผู้ปกครองไทย หมายถึง บิดา มารดา หรือผู้ที่มีความสัมพันธ์กับเด็กในครอบครัวในการอบรมเลี้ยงดูแทนบิดามารดา
3.การส่งเสริมทักษะทางการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ หมายถึง การสนับสนุนและเอาใจใส่ด้วยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสำหรับฝึกและพัฒนาความสามารถในการแปลทางอักษรภาษาอังกฤษและอ่านออกเสียง ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
4.เด็กปฐมวัย หมายถึง เด็กนักเรียนทั้งชายและหญิงมีอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ ระดับชั้น Year 1 ( เทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) ในโรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี
5.การสอนภาษาแบบโฟนิกส์ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อฝึกและ พัฒนาการออกเสียงอักษรคำในภาษาอังกฤษ
6.โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี หมายถึง โรงเรียนระดับอนุบาลและ ประถมศึกษาที่6 ที่มีนักเรียนหลากหลายเชื้อชาติ(อังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ไทย) การสอนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการสื่อสาร ซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่ในบริเวณถนนสามัคคี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรีปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนประมาณ 120 คน

วิธีดำเนินการวิจัย
 ประชากร
เด็กปฐมวัยอายุ 56 ปี ที่กำลังศึกษา อยู่ในระดับชั้น Year 1 (ซึ่งเทียบเท่าระดับชั้นอนุบาล 3 ในระบบการศึกษาไทย) โรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์ สามัคคีปีการศึกษา 2553จำนวนทั้งสิ้น 14 คน

กลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 11 คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.โปรแกรมการให้ความรู้แก่ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะทางการอ่าน ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟนิกส์
2.แบบทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์สำหรับเด็กปฐมวัย
3.แบบสัมภาษณ์ประเมินการใช้โปรแกรมของผู้ปกครองชาวไทย

การดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งสิ้น 9 สัปดาห์

การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปตารางสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และ นำเสนอในรูปการบรรยายแบบความเรียงสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.วิเคราะห์ผลคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ ด้วยการหาค่าเฉลี่ย ผลต่างคะแนน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยผลต่างคะแนนความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมแบบโฟนิกส์ โดยทดสอบค่าที(t-test) แบบDependent Sample ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .01 แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง 2.วิเคราะห์การประเมินการดำเนินการตามโปรแกรมการส่งเสริมทักษะการอ่าน ภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ปัญหาที่พบ ข้อเสนอแนะโดยผู้ปกครอง ชาวไทย จากแบบสัมภาษณ์โดย สรุปรวบรวม เรียบเรียง จัดคำตอบต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่แล้วนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในรูป ตาราง ความถี่ประกอบการบรรยายแบบความเรียงตามประเด็นต่างๆ

วัตถุประสงค์ที่ 1
เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้ความรู้ผู้ปกครองไทยเรื่องการส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบภาษาโฟนิกส์ ในเรื่องเสียงอักษร ทักษะการผสมเสียงให้เป็นคำ และทักษะการแยกเสียงในคำ
ผู้ปกครองทุกคนให้ความสนใจในเรื่องการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ ร่วมแสดงความคิดเห็นและแบ่งปันประสบการณ์เกี่ยวกับการสอนภาษาแบบโฟนิกส์ในมุมมองของตน ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของตนในฐานะผู้ส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาของเด็ก
ผู้ปกครองแสดงความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เสียงอักษร ฝึกฝนและพยายามจำเสียงอักษรให้ได้ทุกตัวผ่านการเชื่อมโยงกับศัพท์ที่คุ้นเคย ผู้ปกครองแสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนช่วยทำให้ดีขึ้นและเพิ่มความมั่นใจขึ้นอีกด้วย ดังนั้น การที่เด็กได้ฝึกฝนเพิ่มที่บ้านจะช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น และผู้ปกครองก็เป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้เด็กได้ฝึกฝนทักษะต่างๆ
วัตถุประสงค์ที่ 2

เพื่อประเมินการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะทางการออกเสียงภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนแบบโฟนิกส์ของผู้ปกครองไทยโรงเรียนนานาชาติ เซนต์แอนดรูส์สามัคคี
ผลจากการเปรียบเทียบความสามารถทางภาษาอังกฤษแบบโฟนิกส์ของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมโปรแกรมด้วยการทดสอบก่อน และหลังการทดลอง พบว่าหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยผู้ปกครองส่วนใหญ่ ดำเนินการตามทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ในโปรแกรมอย่างครบถ้วน เมื่อดำเนินการครบแล้วได้หาคำศัพท์นอกเหนือจากที่กำหนดมาให้เด็กฝึกฝนเพิ่มเติม
ข้อเสนอแนะ

1) ควรนำผลการวิจัยไปศึกษาในโรงเรียนที่มีบริบทต่างกันแต่ใช้การเรียนการสอนแบบโฟนิกส์เช่นเดียวกัน เช่น โรงเรียนสองภาษา โรงเรียนนานาชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมและกว้างขวางต่อไป

แหล่งอ้างอิง

แสงวิไล จารุวาที.2554. การพัฒนาและประเมินการใช้โปรแกรมการให้ ความรู้ผู้ปกครองไทย ในการส่งเสริมทักษะทางการอ่านออก เสียง ภาษาอังกฤษของเด็กปฐมวัยด้วยการสอนภาษาแบบโฟ นิกส์ โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์สามัคคี. (ออนไลน์).


แหล่งที่มา : http://tdc.thailis.or.th 18 กันยายน 2559

การนำไปประยุกต์ใช้

    สามารถนำการสอนภาษาแบบโฟนิกไปใช้กับโรงเรียนรัฐบาลหรือโรงเรียนทั่วไปได้ โดยการปูพื้นฐานเด็กให้เกิดความเข้าใจและความรู้ที่ตรงกัน และในขั้นต่อไปคือสร้างพื้นฐานและความสามารถให้ตรงกับเด็กและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนนั้น ๆ ได้

ประเมิน
ตัวเอง: ตอบคำถาม ออกไปนำเสนอ ได้ดี 
เพื่อน:มีการนำเสนอและถามตอบกัน มีส่วนร่วมอย่างดี

ครู:เปิดโอกาสให้ได้ออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน มีความเป็นกันเอง แนะแนวทางที่ถูกต้องให้